เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

การศึกษาผลการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน

ชื่อเรื่องวิจัย        การศึกษาผลการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน
ผู้วิจัย                  โสภิตพงษ์   ช่วยสกุล
ตำแหน่ง              ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน  จังหวัดตรัง
ปีที่ทำวิจัย          2562
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการศึกษาผลนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุล 2) เพื่อศึกษาผลการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสีย  ต่อการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุนประชากร คือ นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 252 คน ผู้ปกครอง 240 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 15 คน บุคลากรและครู 26 คน รวมทั้งสิ้น 533 คน กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลมี 348 คน เป็นผู้ปกครอง 148 คน นักเรียน 162 คน กรรมการสถานศึกษา 12 คน ผู้บริหาร บุคลากรและครู 26 คน  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย1) กลุ่มผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย มีผู้ปกครอง 24 คน คัดเลือกแบบเจาะจงจากตัวแทนเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนประจำห้องเรียน 12 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 12 คน  คัดเลือกแบบเจาะจงจากกรรมการสถานศึกษาที่ไม่ใช่บุคลากรโรงเรียน  ผู้บริหาร บุคลากรและครูโรงเรียน 26 คน รวมทั้งสิ้น 62 คน  2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลมี 11 ฉบับ ประกอบด้วย (1) แบบสัมภาษณ์ 7 ฉบับ  (2) แบบสอบถาม  2 ฉบับ  (3) แบบบันทึก  1 ฉบับ และ (4) แบบสังเกต 1 ฉบับ  ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์ หรือ เนื้อหา (Index  of Item Objective Congruence หรือ IOC) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.6 – 1.0 และตรวจสอบหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการของครอนบาค (Cronbach) หรือหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา (Alpha Coefficient) ได้ค่าอัลฟ่าทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.807 – 0.954  เมื่อเก็บข้อมูลมาแล้วได้ตรวจสอบคุณภาพข้อมูล โดยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า(Triangulation Technique) สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ผลการวิจัยพบว่า

1) รูปแบบการวิจัย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAOR) ประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผน (Planning)  การปฏิบัติ (Action)  การสังเกตตรวจสอบ (Observation ) และการสะท้อนผล (Reflection) จำนวน 2 วงรอบ  โดย การพัฒนาในวงจรรอบที่ 1 เมื่อดำเนินการปฎิบัติครบทุกกิจกรรมแล้ว พบว่ากลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจแต่ยังมีปัญหาที่จะต้องพัฒนาเพิ่มเติม คือ (1) อบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (2) อบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน (3) อบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยในชั้นเรียน (4) อบรมเชิงปฏิบัติการการวัดผลประเมินผลที่เน้นเรียนเป็นสำคัญ (5) ประชุมปฏิบัติการนิเทศสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งได้นำผลสะท้อนการปฏิบัติดังกล่าวไปสู่การพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยเมื่อพัฒนาเสร็จแล้วพบว่า การดำเนินการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน ทุกด้านบรรลุตามเป้าหมายของกิจกรรม

2) การศึกษาผลของการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก โดยมีผลการดำเนินงานนิเทศงานวิชาการ รายด้าน ดังนี้ (1) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (2) ด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้  มีการพัฒนาการใช้สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ เพื่อการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียน อยู่ในระดับมาก  (3) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ผลปรากฏว่าครูทำการประเมินผลตามแนวทางการนิเทศการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (4) ด้านการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคมและท้องถิ่น สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (5) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โรงเรียนได้สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (6) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้  มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก  (7) ด้านการพัฒนาบุคลากร มีการพัฒนาครูผู้สอนอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด

3) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียกับการศึกษาผลการนิเทศงานวิชาการภายในของโรงเรียน พบว่า มีความ พึงพอใจ ในด้านผลการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน รวม 7 ด้าน เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button