เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562

ชื่อเรื่อง           รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562

ผู้รายงาน         นางศิรประภา  ขวัญทอง

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ปีที่รายงาน       ปีการศึกษา 2561-2562

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย                  1) ระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) คุณภาพของนักเรียน ตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกเป็น 2.1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 2.2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2.3) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 3) ความสามารถของนักเรียนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่สู่ครอบครัว และชุมชน และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการ  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ประชากร กลุ่มตัวอย่างประชากร ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 25261 จำนวน 140 คน (นักเรียนชั้น ม.1,ม.2 และ ม.4 ม.5 ทุกคน) ปีการศึกษา 2562 ใช้นักเรียนกลุ่มเดิมที่เลื่อนชั้นไปเรียน ชั้น ม.2 ม.3  ม.5 และ ม.6 จำนวน 140 คน 2) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 140 คน (เป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง)  3) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน7 คน (ยกเว้นผู้อำนวยการ และผู้แทนครู) และ 4) ประชากรครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 19 คน  ปีการศึกษา 2562 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 9 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถของนักเรียนที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .88-.95 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น ม.3 และชั้น ม.6 และแบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนชั้น ม.1-ม.6  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการดำเนินโครงการสรุปได้  ดังนี้

สรุปผลการประเมิน

  1. แสดงผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด  ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน พบว่า

ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

  1. แสดงผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน พบว่า

ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (m = 4.20, s= .10) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (m = 4.32, s= .35) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

  1. แสดงผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน พบว่า

ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน              มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน                มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

  1. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่

4.1  แสดงคุณภาพการพัฒนาการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน

ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.2  แสดงผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนที่ได้ระดับ 3 ขึ้นไป                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)             ของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 และผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า

  • ภาพรวมผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาของนักเรียนที่ได้ระดับ 3 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 95 ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 58.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  • ภาพรวมผลการทดภาพรวมผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-net)

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.13 ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 31.76 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 32.02 ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 30.04 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

  • ภาพรวมผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรสถานศึกษา

ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 85.00 ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 88.20 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.3  ผลการประเมินความสามารถของนักเรียน ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่สู่ครอบครัว และชุมชน โดยครู และผู้ปกครองเป็นผู้สังเกต ปีการศึกษา 2561-2562 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน

ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมผลการสังเกตของทั้งสองกลุ่ม อยู่ในระดับดีขึ้นไปสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมผลการสังเกตของทั้งสองกลุ่ม อยู่ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.4  แสดงผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีการศึกษา 2561-2562 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน

ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

สรุปภาพรวมทั้ง  4  ด้าน  ค่าน้ำหนัก  100%  ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100  ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้

  1. การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรมี การวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
  2. ควรนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหา  หรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ  และก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
  3. กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 ควรส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ กำกับ ติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป

  1. ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการโดยใช้รูปแบบอื่นๆ ในกรณีที่เป็นโครงการย่อยระดับกลุ่มงาน และควรประเมินโครงการระดับองค์กร โดยใช้รูปแบบ            การประเมินแบบซิปป์ หรือซิปป์โมเดล (CIPP Model)
  2. ควรมีการวิจัยพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ความยั่งยืนของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในทุกสังกัด

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button